ระนาดทุ้ม

ประวัติระนาดทุ้ม

ระนาดทุ้ม เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ลูกระนาดทำด้วยไม้ชนิดเดียวกับระนาดเอก แต่เหลาลูกระนาดให้มีขนาดกว้าง และยาวกว่าลูกระนาดเอก ส่วนรางระนาดทุ้มมีลักษณะคล้ายหีบไม้ แต่โค้งด้านบน มีโขนปิดด้านหัวและท้าย มีเท้าเตี้ยๆ รองอยู่ 4 มุมราง เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม  กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ยๆรองไว้ 4 มุมรางไม้ตีตอนปลายใช้ผ้าพันพอกให้โต และนุ่ม เวลาตีจะได้เสียงทุ้ม ระนาดทุ้มใช้บรรเลงในวงปีพาทย์ทั่วไป มีวิธีการบรรเลง แตกต่างไปจากระนาดเอก คือไม่ได้ยึดการบรรเลง๘ เป็นหลัก ระนาดทุ้มทำหน้าที่แปลลูกฆ้องให้เป็นทำนองเต็มแบบหยอกล้อตลกคนอง มีกลเม็ด ในการตีแบบขัด ล้วง ล้ำไปข้างบ้างและหน่วงไปข้างหลังบ้าง ใช้ตีสอดประสานกับระนาดเอกเพื่อทำให้เพลงมีความไพเราะสนุกสนานยิ่งขึ้น ไม้ตีอ่อนนุ่มกว่าระนาดเอก มีแบบเดียวคือไม้นวม ทั้งนี้เพื่อให้ประสานกลมกลืนกับระนาดเอกซึ่งมีเสียงแหลมสูงกว่า รางระนาดทุ้ม

ลักษณะ       ทำจากไม้และไม้ไผ่  มีส่วนประกอบที่เป็นผืนระนาด ทำจากไม้ไผ่บงและไม้ไผ่ตง ส่วนรางระนาด นิยมใช้ไม้มะหาด ไม้พยุง   และไม้ชิงชัน เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง เวลาตีจะให้เสียงที่ดัง ไม้ที่ทำผืนระนาดต้องเหลาให้ได้ขนาดกันทั้งผืนเจาะรูที่ลูกระนาดร้อยเชือกให้เรียงกันเป็นผืน ลูกระนาดทุ้มมี 17 หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 เซนติเมตร  กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร   ลูกต่อไปลดหลั่นกันจนถึงลูกยอดจะมีขนาดยาวประมาณ  42 เซนติเมตร กว้าง 5 เซนติเมตร  การเทียบเสียงใช้ตะกั่วถ่วงด้านหลังผืนระนาด  รางระนาดทุ้มใช้ไม้ทำมีรูปร่างคล้ายเรือ    โขนที่ปิดหัวท้ายรางระนาดจะสูงขึ้นกว่าตัวรางนิดหน่อย มีขอแขวนผืนระนาดติดไว้เวลาบรรเลงนำผืนระนาดมาแขวนไว้ที่ขอนี้ โยงหัวท้ายให้ตึงพอดี   ใต้รางระนาดมีเท้าระนาด4 เท้า ไม้ตีระนาดมีไม้ตี 2 อัน ลักษณะใหญ่กว่าไม้ตีระนาดเอก ส่วนด้ามไม้ไผ่ปลายไม้พันด้วยผ้าหนา และใช้ด้ายพันวนไปวนมาเพื่อความสวยงาม

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ดนตรีไทย คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น